ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้
(40 คะแนน)
๑. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
คำตอบ กฏหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายแม่บท เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ มีการกำหนดรูปแบบ
ระเบียบ โครงสร้าง ตลอดจนแนวทางในการปกครองประเทศ รวมไปถึงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
อำนาจรัฐ กับการปฏิบัติตนของประชาชน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ประชาชนอยู่ในรัฐอย่างร่มเย็นเป็นสุข
โดยการจัดสรรอำนาจต่างๆบนพื้นฐานของความชอบธรรมมีรูปแบบการปกครองโดยให้ความยุติธรรมเสมอกัน
เท่าเทียมกัน มีหลักประกันความเป็นพลเมืองแห่งรัฐ และที่สำคัญ คือ
กฎหมายรัฐธรรมนูญมีอำนาจบังคับใช้กับบุคคลทุกคน
ไม่มีผู้ใดอยู่เหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้
พระ ราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่ใช้เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มีอำนาจบังคับลำดับรองลงมาจาก กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่แยกย่อยออกมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ
คือในกฎหมายรัฐธรรมนูญจะประกอบไปด้วยพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ซึ่งข้อบังคับหรือข้อกำหนดใดๆที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติทุกๆพระราชบัญญัติ
จะขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
พระราชกำหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นเพื่อบังคับใช้ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
(ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้) แต่เมื่อตราออกใช้แล้วต้องนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ความเห็นชอบในการประกาศใช้พระราชกำหนดนั้นๆตามความเหมาะสม
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ
คือ กฎหมายที่เทศบาลกำหนดออกมาเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาล
ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.
2496
โดยมีผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่
นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 เพื่อพิจารณาความเห็นชอบ
๒. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
๒. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
คำตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ
ปัจจุบันเป็นไปในลักษณะที่มีการพยายามปรับแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากขึ้น
ซึ่งเกิดจากปัญหาที่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันทางการเมือง และที่สำคัญคือ
เกิดจากปัญหาทางการเมืองที่มีมายาวนาน
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
ก็คือจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศก็จะทำให้ประเทศของเราเกิดความขัดแย้ง
วุ่นวาย และไม่มีแนวทางในการปฏิบัติตนที่ถูกที่ควร
อันจะส่งผลไปสู่การเกิดความขัดแย้งต่างๆของคนในประเทศ
ทำให้เกิดความไม่สงบสุขและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในทุกๆด้าน
๓.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
๓.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
คำตอบ โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่าไม่สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพราะว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
คิดหวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ
มุ่งหวังแต่อำนาจและเงินทอง โดยไม่สนใจสถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งสังเกตได้จากที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญมาตรา 112 นี้ก็ยังมีบุคคลที่มีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว
หากมีการแก้ไขมาตราที่ 112 นี้อีกต่อไปประเทศไทยของเราก็อาจจะมีโอกาสสูญเสียระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ซึ่งอันที่จริงแล้วเราจะเห็นได้ว่าคนไทยทุกคนย่อมมีสิทธิในการปกป้องและคุ้มครองตนเอง
แต่เราคนไทยทุกคนก็ควรจะมีความเคารพและศรัทธาในพระองค์ไม่ใช่คอยหาช่องโหว่เพื่อล้มล้างพระองค์เช่นนี้
หากเราทุกคนยังไม่มีความมั่นใจในความรักและความหวังดีที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทย
ก็ให้หวนกลับมาคิดว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของเรานั้นใช้ปกครองประเทศมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่าพระองค์จะเอาเปรียบประชาชนของพระองค์ในประเด็นไหน
มีแต่ประชาชนของพระองค์ที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์เท่านั้นที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
112 นี้เพื่อให้เป็นช่องโหว่ในการกระทำผิดของตนเอง
แต่ทั้งนี้การที่มีกลุ่มบุคคลออกมาแสดงถึงเจตนารมณ์ของตนเองในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
112
ดังกล่าวก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิด
เพราะพวกเขาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องสิ่งที่พวกเขาต้องการ
แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องนั้นจะต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในเหตุและผลของความเป็นไปได้
และมีการชี้แจงให้เหตุผลให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจโดยทั่วกัน
๔. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ
กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
แดน
กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
แดน
คำตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่ง
ข้าพเจ้ามองว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมากต่อคนไทยทุกคน
เพราะปัญหานี้อาจจะทำให้ประเทศไทยของเราต้องสูญเสียดินแดนที่บรรพบุรุษของเราต้อสู้
และเสียสละเลือดเนื้อเข้าแลกไว้
เราทุกคนที่เป็นคนไทยจึงควรตระหนักถึงความดีงามและความกล้าหาญของบรรพบุรุษของเรา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราทุกคนเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนในดินแดนที่เป็นของประเทศไทยของเรามากขึ้น
ถึงแม้ว่าดินแดนนั้นจะเป็นดินแดนที่น้อยนิดก็ตาม
สำหรับข้าพเจ้าก็มีวิธีการในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ
การอาศัยอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ในการออกความคิดเห็นและแสดงให้เห็นถึงสิทธิและเสรีภาพในการออกความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
โดยจัดให้มีการลงประชามติ ให้คนส่วนใหญ่ได้ลงชื่อเพื่อเป็นการรวบรวมกำลังและความคิดเห็น
เพื่อเป็นพลังในการต่อสู้เกี่ยวกับกรณีพิพาทดังกล่าว และที่สำคัญคือ
เพื่อรักษาดินแดนที่เป็นของประเมศไทยของเราเอาไว้นั่นเอง
๕. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
๕. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
คำตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะพระราชบัญญัติ ก็คือข้อกำหนด
ระเบียบแบบแผนต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อเป็นการรักษาและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพทางด้านต่างๆของบุคคลหรือบุคลากรทางการศึกษา
มีการกำหนดหลักในการปฏิบัติตนและระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
ที่เป็นเครื่องชี้ทางปฏิบัติให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบริหาร
จัดการและดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา
เป็นบทบัญญัติที่ทุกคนในแวดวงการศึกษารับรู้และรับทราบโดยทั่วกัน และที่สำคัญคือ
ทุกคนในแวดวงการศึกษาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
๖. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก
ผู้สอน ครู คณาจารย์
ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา
คำตอบ การศึกษา คือ
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก
การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต คือ การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ
คือ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น
ๆ
สถานศึกษา
คือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัยสถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน
ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมี
วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล
การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน คือ ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง
ๆ
ครู คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง
ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ คือ บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารสถานศึกษา คือ
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหาร
สถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
๗.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
การจัดการศึกษา อย่างไร
๗.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
การจัดการศึกษา อย่างไร
คำตอบ ในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กล่าวไว้ในมาตราที่ ๘ ที่ว่าด้วยหลักในการจัดการศึกษาที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า
การจัดการศึกษาจะเป็นเป็นการศึกษาที่จัดให้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกคน
โดยในการจัดการศึกษานั้นจะต้องมีการเปิดโอกาสให้ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
และจะต้องมีการพัฒนาสาระและกระบวนการในการจัดการเรียนและการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
๘. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น
ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด
กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด
กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
คำตอบ หากพิจารณาตามกฎหมาย
หากมีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครูจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกันกรณีแบบนี้จะไม่ผิดกฎหมาย
แต่จะต้องดำเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้และจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้ คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
และจะต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
ไม่เป็นเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๙. หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
คำตอบ หากต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม
ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปได้ คือเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
และที่สำคัญ คือจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ คือ
เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
หรือเคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๑๐. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้
นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
คำตอบ สำหรับข้าพเจ้าเมื่อได้เรียนวิชานี้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติที่เกี่ยวกับเรื่องของกฎหมาย
เพราะก่อนเรียนวิชานี้ข้าพเจ้าเป็นคนที่โดยส่วนตัวแล้วจะไม่ชอบเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
หรือเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
ซับซ้อนและไม่น่าสนใจ แต่เมื่อได้เรียนวิชานี้ก็ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายมากขึ้น
ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความตระหนักในความสำคัญของการเรียนรู้กฎหมายเพื่อปกป้องและรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในด้านต่างๆของตัวข้าพเจ้าเอง
ยิ่งความหวังของตัวข้าพเจ้าคือการประกอบอาชีพครูในอนาคตด้วยแล้ว ข้าพเจ้าก็ยิ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
รวมถึงกฎหมายทางด้านการจัดการศึกษาเพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นๆ
จึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสนใจเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายมากขึ้น
และจากการเรียนวิชานี้ซึ่งครูผู้สอนมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Webbog มาประยุกต์ใช้ในการสอนด้วยแล้ว
ก็ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดความสนุกและกระตือรือร้นในการเรียนรู้เรื่องกฎหมาย
เพราะข้าพเจ้าสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกสบาย
ข้าพเจ้าสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่ข้าพเจ้าต้องการโดยไม่จำเป็นจะต้องพกพาหนังสือที่เกี่ยวกับ
กฎหมายเล่มใหญ่ๆหนักๆให้เสียเวลา
แต่ข้าพเจ้าสามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆผ่านทางอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่ข้าพเจ้ามีติดตัวอยู่เสมอ
หากจะให้ข้าพเจ้าให้น้ำหนักคะแนนวิชานี้ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าให้เต็มหนึ่งร้อยคะแนน
เพราะวิชานี้เป็นการเรียนรู้ที่สามารถนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและที่เรานักศึกษาทุกคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการศึกษา
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเปิดกว้าง
ไม่ยึดติดกับแบบแผนหรือวิธีการเรียนรู้แบบเดิมๆ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอให้คะแนนวิชานี้เป็นเกรด
A และข้าพเจ้าคิดว่าในการเรียนวิชานี้ ข้าพเจ้าควรได้เกรด A เช่นกัน
เพราะทุกๆครั้งของการเรียนวิชานี้ข้าพเจ้ามีความกระตือรือร้นที่จะเรียนมาก
จะมาเรียนตั้งแต่เช้าและมักจะมาถึงห้องเรียนเป็นคนแรกๆเสมอ
และนอกจากนี้ข้าพเจ้าคิดว่าที่ข้าพเจ้าสมควรจะได้เกรด A ก็คือข้าพเจ้าไม่เคยขาดเรียนวิชานี้เลยสักครั้งเดียว
และมีความตั้งใจในการทำงานที่เป็นกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ด้วยตนเองทุกกิจกรรม
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสมควรจะได้เกรด A
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น