วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ ๘

ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

            เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
            คำตอบ           ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา คือวันที่วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นไป

. ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
            คำตอบ           นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
. เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
            คำตอบ           เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี อันจะนำไปสู่การปฏิบัติและบริหารบ้านเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
            คำตอบ           ประกอบด้วย ๙ หมวด และ ๕๓ มาตรา ได้แก่
                                    หมวด ๑ การบริหารบ้านเมืองที่ดี ( มาตราที่ ๖ )
                                    หมวด ๒ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ( มาตรา ๗ – ๘ )
                                    หมวด ๓ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ( มาตรา ๙ – ๑๙ )
                                    หมวด ๔ การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ( มาตรา ๒๐ – ๒๖ )
                                    หมวด ๕ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( มาตรา ๒๗ – ๓๒ )
                                    หมวด ๖ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ( มาตรา ๓๓ – ๓๖ )
                                    หมวด ๗ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการประชาชน ( มาตรา ๓๗ – ๔๔ )
                                    หมวด ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ( มาตรา ๔๕ – ๔๙ )
                                    หมวด ๙ บทเบ็ดเตล็ด ( มาตรา ๕๐ – ๕๓ )

. วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
            คำตอบ           วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบด้วย
(๑)        เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(๒)                      เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(๓)                       มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(๔)                       ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
(๕)                      มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(๖)        ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(๗)                      มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
            คำตอบ           สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานงบประมาณ ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
            คำตอบ           หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลา ๙๐ วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

. แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
            คำตอบ           .แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผน ๔ ปี

. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
            คำตอบ           ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ คณะผู้ประเมินอิสระที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น

๑๐. การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
            คำตอบ           การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ และความคุ้มค่าในภารกิจ
                        กล่าวคือ การประเมินในด้านต่างๆนั้น จะต้องมีการกระทำอย่างเป็นความลับและเพื่อเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ ซึ่งผลแห่งการประเมินเหล่านี้จะนำไปสู่การจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการนั้นๆ ในการที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัดดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น