ให้นักศึกษาอ่าน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตอบคำถามต่อไปนี้
๑.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
คำตอบ ๑.ประเด็นในหมวดที่ ๒ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
มาตราที่ ๒๓ ในประเด็นที่ว่า “ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 22 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ
ในการนี้จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ ”
๒. ประเด็นหมวดที่
๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนที่ 4
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตราที่ 39 ในประเด็นที่ว่า
“ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”
๓. ประเด็นหมวดที่
๑๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ ๑ การตรวจสอบทรัพย์สิน มาตรา ๒๕๙ ในประเด็นที่ว่า
“ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้(
นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินของตน
คู่สมรส
และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ”
๒.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
คำตอบ ๑. ประเด็นหมวดที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตราที่ ๔๙ ในประเด็นที่ว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
“ ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ
เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ”
“การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตราที่ ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
ในประเด็นที่ว่า “ การศึกษาอบรม
การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
”
๓.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
คำตอบ ประเด็นในมาตราที่ ๙๐ ที่ว่า “
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมจากใคร (รัฐสภา)
ประเด็นมาตราที่
๙๓ ที่ว่า“ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน (สี่ร้อยแปดสิบคน)
ประเด็นมาตราที่
๙๙ ที่ว่า“ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีสัญชาติไทย
แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ จะต้องได้รับสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี
(๕ ปี)
๔.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
คำตอบ เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย
เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จะทำให้ประชาชนชาวไทยบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะพัฒนาประเทศ
รักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ รวมถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และที่สำคัญคือ
หากเราคนไทยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญดังกล่าวแล้ว
จะทำให้เราทุกคนในสังคมไทยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันไปในทางที่ถูกที่ควร
และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย
เพราะเรามีรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน
๕.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
คำตอบ จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น
ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะโลกของเราในปัจจุบันนี้
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น
หากเป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือของประชาชนชาวไทยโดยแท้จริงแล้ว
ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลพึงกระทำ
แต่หากเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อการกระทำอันใดที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยแล้ว
ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ
และจากการที่รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว
มีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านนั้นเป็นเพราะว่า
ประชาชนเหล่านี้มองเห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
หรือแอบแฝงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว หรือกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ
ประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐธรรมนูญนั้นอาจจะเป็นกลุ่มของประชาชนที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลดังกล่าว
สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น
ข้าพเจ้าคิดว่าสมควรที่จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
ควรจะมีการตรวจสอบและพิจารณาให้ถี่ถ้วนเพื่อมองหาช่องโหว่ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาอย่างมากต่อประเทศชาติ หากมีประชาชนคนไทยที่มองเห็นช่องโหว่ดังกล่าวและกระทำการอันใดที่ไม่ดีงามจากช่องโหว่นี้
๖.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง
๓ อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
คำตอบ สำหรับตัวข้าพเจ้าคิดว่า
การปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ยังขาดความสมดุลกันของอำนาจทั้ง ๓ อำนาจดังกล่าว
ซึ่งเราจะสังเกตได้จากการเกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆมากมายดังเช่นที่ผ่านมา
มีการทะเลาะกัน แก่งแย่งชิงดี แสวงหาผลประโยชน์ โดยแทบจะมองไม่เห็นว่าใคร
พรรคการเมืองไหนกันแน่ที่หวังดีและเห็นแก่ผลประโยชน์ของประชาชนชาวไทย
และจะนำพาประเทศไทยของเราให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ได้
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การปกครองประเทศจะอาศัยเฉพาะอำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่ได้
แต่ทั้ง ๓ อำนาจจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการที่จะวางแผนพัฒนาประเทศและนำพาประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น