หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
๑. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
คำตอบ พระราชบัญญัติ คือ
กฎหมายที่มีอำนาจบังคับลำดับรองลงมาจาก กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่แยกย่อยออกมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ
คือในกฎหมายรัฐธรรมนูญจะประกอบไปด้วยพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ซึ่งข้อบังคับหรือข้อกำหนดใดๆที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติทุกๆพระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
๒. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
คำตอบ ความมุ่งหมายทางการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ (แก้ไขฉบับที่ ๑ และ ฉบับที่ ๒) กล่าวไว้ว่า
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและ
ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข
รู้จักรักษาและสงเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
รู้จักรักษาผลประโยชนสวนรวมและของประเทศชาติ
รวมทั้งส่งเสริมศาสนา
ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาทองถิ่น ภูมิปัญญาไทย
และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์
ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอยางต่อเนื่อง
๓. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
คำตอบ หลักในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช ๒๕๔๒ (แก้ไขฉบับที่ ๑ และ ฉบับที่ ๒) กล่าวไว้ในมาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ คือ
(๑)
เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรบประชาชน
(๒)
ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓)
การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจากมาตราที่
๘ ดังกล่าวนี้ อธิบายได้ว่า ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่
หรือคนชราก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียน นอกห้องเรียน ก็สามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการของประชาชนทุกคนตลอดชีวิตของประชาชนและการจัดการศึกษานั้นจะมีหน่วยงานจากหลายๆหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นสังคม ชุมชน วัด
และหน่วยงานทางราชการต่างๆก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้เช่นกัน
เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในทุกๆด้านให้กับผู้เรียน
และที่สำคัญคือ การจัดการศึกษานั้นจะต้องมีการพัฒนา
ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกๆวัน
เพราะเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงไป
การจัดการศึกษาก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางด้านต่างๆของสังคม
๔. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา
ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ (แก้ไขฉบับที่ ๑ และ ฉบับที่ ๒) กล่าวไว้ใน มาตรา ๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจดการศึกษา
ให้ยึดหลักดังนี้
(๑)
มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
กล่าวคือ
จะต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในทุกรูปแบบที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แตกแยก แต่สามารถปรับ
ปฏิบัติได้ในหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของลักษณะการจัดการศึกษา(๒) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนถิ่น
กล่าวคือ การจัดการศึกษานั้นจะต้องมีการกระจายอำนาจการปกคลองไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วน เพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ การส่งเสริมและพัฒนาทางด้านการจัดการศึกษาในด้านต่างๆร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีของการจัดการศึกษา
(๓)
มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
กล่าวคือ มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และเพื่อช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้วางไว้อย่างเป็นระบบระเบียบนั่นเอง
(๔)
มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู
คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
กล่าวคือ จะต้องมีการส่งเสริมพัฒนาครู
หรือบุคลากรทางการศึกษา
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านการจัดการศึกษาที่จะส่งผลให้การจัดการศึกษานั้นๆมีความประสบผลสำเร็จหรือไม่ประสบผลสำเร็จ
ดังนั้นหากครูหรือบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการเข้ารับการอบรมต่างๆ
หรือเข้ารับการส่งเสริม พัฒนาความรู้ที่ดี
ก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามมารฐานการจัดการศึกษาที่ได้วางไว้
(๕)
ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
กล่าวคือ
การจัดการศึกษาที่ดีนั้นจะต้องมีการนำความรู้จากหลายๆแหล่งมาประยุกต์และบูรณาการณ์ในห้องเรียน
ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ภูมิปัญญาต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน เป็นต้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรักษ์และหวงแหนชุมชนของตนเอง
เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ตนเองได้เรียนมาปรับปรุง พัฒนาชุมชนของตนเองต่อไปในอนาคต(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
กล่าวคือ การจัดการศึกษาที่ดี จะต้องเปิดโอกาสให้องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคม รวมถึงบุคคลในครอบครัวของผู้เรียนเข้ามามีบทบาทในการอบรม และให้การศึกษาแก่เด็กหรือผู้เรียน ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละองค์กร เพื่อให้เด็กหรือผู้เรียนมีความรู้และมีความเข้าใจในทุกๆด้านของการดำเนินชีวิต เพราะการศึกษานั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้อยู่ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเพียงแค่อย่างเดียว
๕. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
คำตอบ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ (แก้ไขฉบับที่ ๑ และ ฉบับที่ ๒)
กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษา
จะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและมีโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง
และอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ
หรือทุพพลภาพและบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส จะต้องมีการจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
คือ ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และนอกจากนี้ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
และนอกจากนี้การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมตามลักษณะความสามารถของบุคคลนั้นๆและบิดา มารดา
หรือผู้ปกครองจะต้องมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา
๑๗
และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษาที่นอกเหนือไปจากการศึกษาภาคบังคับ
ตามความพร้อมของแต่ละครอบครัว ซึ่งนอกเหนือจากรัฐ เอกชน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน
สังคมอื่น
มีสิทธิในการจัดศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๖. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ การจัดการศึกษาของไทย มีสามรูปแบบ คือ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
การศึกษานอกระบบ คือ การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความ
สนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น
ๆ
๗. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
คำตอบ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาได้ คือ
การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการเข้ากับแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ซึ่งอาจจะมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนออกทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อเป็นการศึกษานอกห้องเรียน
และมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆในท้องถิ่น
มาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนในห้องเรียน และอาจจะมีการกำหนดชิ้นงานเพื่อให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้หรือจากบุคคลในชุมชน
เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียนและเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียน
และเพื่อให้นักเรียนตระหนักและเข้าใจว่าการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าที่ดีเกิดจากการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
๘. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
คำตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นในมาตราที่ มาตรา ๓๗ คือ
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาและมีการคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
และความเหมาะสมด้านอื่นๆ เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จะให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา”
และ มีการเพิ่มความว่า “ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งเป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ จากการที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา จึงมีการแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
๙. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ เห็นด้วย
เพราะสถานศึกษาก็คือสถานที่สำคัญที่จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศชาติ
จึงควรมีอำนาจและสิทธิต่างๆที่สมควรจะได้รับ เพื่อนำไปเป็นปัจจัยในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
และที่สำคัญคือ หากสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก็จะทำให้สถานศึกษานั้นๆมีอำนาจในการส่งเสริม
พัฒนาการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมทางด้านต่างๆให้กับผู้เรียนได้อย่างเต็มที่
๑๐. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ เห็นด้วย
เพราะการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากโรงเรียน
หรือจากมหาวิทยาลัยเพียงแค่อย่างเดียว แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็น
วัด สถาบันทางศาสนา ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความพร้อมในด้านปัจจัยต่างๆ
ก็สามารถจัดการศึกษาที่ให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในสมัยก่อนที่การศึกษาของประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองหรือเป็นที่แพร่หลายอย่างเช่นปัจจุบันนี้
ก็มีการจัดการเรียนการสอน การศึกษาจากวัดสำหรับผู้ชาย
ก็พบว่าสามารถจัดการศึกษาและอบรมคนไทยในสมัยนั้นให้เป็นคนดีได้เช่นกัน
๑๑. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
คำตอบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีหลักการคือ
เป็นการประเมินผลและติดตามตรวจสอบสถานศึกษาในด้านต่างๆ คือ ด้านคุณภาพของสถานศึกษา
ด้านมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน ด้านบุคลากรของสถานศึกษา
และรวมถึงหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้นๆ
ว่ามีความพร้อมและการทำงานที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ และรวมถึงมีการดำเนินงาน
หรือปฏิบัติงานทางด้านการจัดการศึกษาที่เป็นไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหรือไม่
อย่างไร
๑๒. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาที่ดี
ย่อมมาจากบุคคล หรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการศึกษา อบรม
และการฝึกฝนประสบการณ์เฉพาะด้านมาเป็นอย่างดี จึงควรมีใบประกอบวิชาชีพ
เพื่อเป็นเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพของบุคลากรแต่ละคนในระดับหนึ่ง
และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองในการที่จะฝากบุตรหลาน
หรือบุคคลในความครอบครองเข้ารับการศึกษากับครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ
๑๓. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
คำตอบ มีการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นจากการศึกษาค้นคว้าประวัติและแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน
โดยการสอบถามจากคนในชุมชน หรือจากผู้รู้ที่มีอยู่ในชุมชน
รวมถึงปราชญ์ชาวบ้านที่มีอยู่ในชุมชน หลัง
จากนั้นก็จัดทำ
หรือคิดพัฒนาเป็นบทเรียนที่บูรณาการกับกิจกรรมในห้องเรียนอย่างเหมาะสม
และอาจจะมีการผลิตสื่อต่างๆที่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย
และประหยัดค่าใช้จ่าย
๑๔. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ เนื่องจากในปัจจุบันนี้สังคมไทยและสังคมโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และมีความก้าวหน้าทางการศึกษา ดังนั้นการจัดทำหรือพัฒนาสื่อ
รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการศึกษา
จึงควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความล้ำสมัยทางด้านเทคโนโลยี และที่สำคัญคือ
จะต้องสอดคล้องกับลักษณะความต้องการของผู้เรียนด้วย
ข้าพเจ้าจึงคิดว่าควรที่จะสร้างหรือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
และควรเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา
อย่างเช่น การเรียนรู้ผ่านบทเรียนช่วยสอนหรือ CAI
และการเรียนรู้จากการสร้าง Blog ทางการศึกษานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น